รองเท้าวิ่งซัพพอร์ตคู่ไหนดี?

รองเท้าวิ่งซัพพอร์ตคู่ไหนดี?

คำถามนี้วนกลับมาถามตัวเองเมื่อหยุดวิ่งไปนาน แล้วกลับมารื้อฟื้นการวิ่ง แต่จะให้ไปคว้ารองเท้าวิ่งสายคาร์บอนเลยก็ไม่มีแรงอีก เลยต้องหันไปหาอะไรที่เป็นมิตร (มิตรจริงหรือคิดไปเองวะ) มากกว่า อย่างรองเท้าพื้นหนาๆ พวกนี้ ซึ่งทุกคู่การันตีการใช้งาน 50-100 กิโลเมตรแล้ว บางคู่ก็ยังจับใจ แต่บางคู่จับเท่าไหร่ก็ไม่เจอ เอาเป็นว่าใครเล็ง 4 คู่นี้อยู่ไปตามอ่านกันได้ครับ

adidas adizero Boston 10 (76 KM)

แน่น / เฟิร์ม / เด้ง

3 ความรู้สึกแรกที่สัมผัสได้ ด้วยโฟมที่ค่อนข้างแน่นเฟิร์มเลยทีเดียว มีแผ่นคาร์บอนมาช่วยเด้ง รู้สึกหน้าผ้าระบายอากาศได้น้อย ใส่แล้วถุงเท้าเปียกทุกที เหมาะกับการวิ่ง 10 โลกำลังดี เร่งได้บ้าง แต่นาน ๆ เริ่มอยู่ตัว

Hoka One One Clifton 8 (55 KM)

นุ่ม / ยวบ / กว้าง

คู่นี้พยายามที่จะรักเป็นพิเศษ แต่ก็ผิดหวังเพราะความยวบเกินไป วิ่งแล้วรู้สึกเท้าโดนพื้นดูดยกขาไม่ค่อยขึ้น แต่มีวิธีแก้ให้คือใช้การวิ่งซอยขาถี่ๆ แบบไม่ต้องยกขาสูง ช่วยได้หน่อย เพราะโฟมไปยุบตัว เหมาะกับการใส่ซ้อมวิ่งชิลๆ เรื่อยๆ อย่าลืมสูตรซอยขา! อย่าคิดเลียบแบบท่าคิปโชเก้เชียว!

adidas Ultraboost 21 (53 KM)

แน่น / เฟิร์ม / หนัก

Ultraboost ที่คุ้นเคยมันหายไปไหน กลายเป็นรองเท้าพื้นหนาที่หาคำว่าเบาไม่เจอ วิ่งแล้วแสบจมูกเท้า ได้แผลทุกที หน้าผ้ากระชับดี เหมาะใส่เดินมากกว่า หลังจากเขายกโฟม Boost ออกจากสายเพอร์ฟอร์แมนซ์ก็อย่าเอามาใสวิ่งเลย ตัว UB19 และ UB 20 ยังใช้วิ่งได้

Asics GT-9 (116 KM)

นุ่ม / นิ่ง / กว้าง

ปฏิเสธความนุ่มของ Gel ไม่ได้ ที่ตลกคือเป็นรองเท้าที่หนัก แต่วิ่งแล้วไม่ได้รู้สึกหนัก ต่างกับบางคู่ที่ดูเบาแต่ใส่แล้วโคตรหนัก คำว่านิ่งไม่ได้ถึงอืด แต่มันวิ่งได้นิ่ง ไหลเรื่อยๆ หน้าเท้ากว้างใส่สบาย เหมาะกับซ้อมวิ่งกลางๆ ไม่เหมาะทำความเร็ว แต่วันไหนวิ่งระยะไกลน่าจะใช้ได้ดีกว่าคู่อื่น

If you like sneakers, we’re neighbors.
Back To Top